สมาธิเป็นของสากล ทุกคน ทุกเชื้อชาติ


[ 26 ก.ย. 2552 ] - [ 18272 ] LINE it!

ผลการปฏิบัติธรรม

The Middle Ways in Atlanta
 
 
กราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
 
    ลูกชื่อ กัลยาณมิตรบี อินทกนก ลูกเป็นคนไทยสัญชาติอเมริกัน จากเมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจียค่ะ ลูกจบปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ ใน ปี พ.ศ.2543_จากมหาวิทยาลัยอิมอร์รี วิชาเอกคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ตอนนี้เป็นผู้จัดการฝ่ายบริหารบุคคลอยู่ในบริษัทที่ผลิตและนำส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์การผูกมัดเอกสารต่างๆค่ะ
 
    พ่อแม่ของลูกเป็นคนไทย ส่วนตัวลูกเองก็พูดภาษาไทยได้ แต่ไม่ค่อยคล่อง เพราะไม่ได้พูดบ่อย แต่ถึงอย่างไรก็รู้สึกว่าตัวเองโชคดีที่ได้เกิดในครอบครัวคนไทย และได้เรียนรู้คำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งต้องขอขอบคุณ คุณแม่ ทิพวรรณ เขมบุญเลิศ ที่ท่านได้สอนธรรมะให้กับลูกอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ลูกอยากจะอุทิศชีวิตเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการนั่งสมาธิ
 
    ลูกได้ฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543_ที่วัดพระธรรมกายจอร์เจีย โดยมีคุณแม่เป็นคนแนะนำ ตอนแรกๆลูกยังติดในวิธีการเดิมที่ฝึกเมื่อตอนเด็ก แต่เมื่อได้รับคำชี้แนะลูกก็เข้าใจแล้วว่า ศูนย์กลางกายเป็นจุดสำคัญที่สุดในการนั่งสมาธิ
 
    เนื่องจากลูกเป็นผู้จัดการฝ่ายบริหารบุคคล และได้สัมภาษณ์ผู้สมัครหลายคนโดยการใช้ Skype ซึ่งเป็นโปรแกรมสนทนาทางอินเทอร์เน็ต ที่ผู้สนทนาจะเห็นหน้าและพูดคุยกันได้ทีละหลายๆคน ลูกจึงคิดว่าวิธีนี้น่าจะใช้ได้กับการชวนคนมาปฏิบัติธรรมค่ะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
    ลูกและน้องชายซึ่งเคยบวชที่วัดพระธรรมกายมาแล้วสามครั้ง ได้ช่วยกันจัดคอร์สปฏิบัติธรรมภาคภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ในทุกวันพุธ เวลา 19.00น. โดยขอความเมตตาจาก พระอาจารย์บุญชู อริยธมฺโม และ พระอาจารย์พอล สีลสํวโร นำนั่งสมาธิผ่านทาง Skype หลังจากจัดปฏิบัติธรรมได้ไม่กี่เดือน สมาชิกที่สนใจก็ขยายขึ้นเรื่อยๆ จาก 3-5คนมาเป็น 20-25คนต่ออาทิตย์ค่ะ
 
 
    จนกระทั่งเมื่อเร็วๆนี้ เมื่อโครงการ The Middle Way เดินทางมาจัดปฏิบัติธรรมสุดสัปดาห์ที่สหรัฐอเมริกา ลูกจึงติดต่อขอให้มาช่วยจัดที่แอตแลนต้าด้วย ในระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม ซึ่งในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 15คน ล้วนมีผลการปฏิบัติธรรมที่ดี และทำให้ลูกเข้าใจแล้วว่า ไม่ว่าเราจะมาจากประเทศไหน สมาธิเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้เหมือนกันหมด อย่างเช่น เพื่อนของลูกคนหนึ่ง มาจากคอสตาริก้า ชื่อ แรนดอลล์ วัลแวเดอะ หลังจากฝึกนั่งสมาธิ เขาก็สามารถเห็นตัวเองใสเป็นแก้วอยู่ที่ศูนย์กลางกาย จนต้องยืนยันออกมาดังๆว่า เป็นประสบการณ์ที่อัศจรรย์มาก
 
 
    หรือเพื่อนชาวอเมริกันของลูก คือ จอห์น เทอร์เนอร์ และ เจเน็ต เอลลิส ก็มีผลปฏิบัติธรรมที่ดีเช่นกัน จอห์นสามารถรวมใจไว้ที่ศูนย์กลางกายได้อย่างง่ายดาย เขาเล่าว่าพอใจตกศูนย์แล้ว ก็มีคลื่นของความรู้สึกดีๆอันมหาศาลผ่านขึ้นมาเป็นระลอกๆ เหมือนตัวเองเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่งไปกับคลื่นสะท้อนเหล่านั้น และทำให้รู้สึกดีมากๆ ส่วนเจเน็ตก็เล่าว่าในช่วงปฏิบัติธรรม เธอรู้สึกว่าใจเป็นอิสระไม่ยึดติดกับอะไรเลย จากนั้นก็เห็นดวงแก้วใสวิ่งตรงเข้ามาหา แล้วตัวเองก็หายไป ปรากฏแต่แสงที่สว่างจ้า จนรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับแสงสว่างนั้น ประสบการณ์ที่ได้รับนี้มีพลังมากๆค่ะ
 
 
    หลังจบโครงการ The Middle Way ลูกได้เสียงตอบรับดีๆมากมาย ทุกคนต่างพึงพอใจมากที่ได้เรียนรู้การพัฒนาทางด้านจิตใจ และหลังจบการปฏิบัติธรรมแต่ละสัปดาห์ ก็มักจะมีสมาชิกใหม่มาถามว่า พวกเขาจะสมัครเป็นอาสาสมัครกันได้อย่างไร โดยมีสมาชิก 10-13คนให้คำมั่นสัญญาว่าจะมากันทุกอาทิตย์ เพราะอยากสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ค่ะ
 
    ทุกคนที่มา ล้วนเปิดใจกว้างเพื่อเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการทำสมาธิ ครั้งหนึ่งหลังจากคุณครูท่านหนึ่งมาร่วมปฏิบัติธรรม เธอได้ไปแนะนำวิธีการทำสมาธิต่อให้แก่เด็กนักเรียนวัย 4-5ขวบหลังโรงเรียนเลิก ลูกมีความสุขมากที่ได้ยินเช่นนั้น และรู้สึกว่ากำลังทำในสิ่งที่ดี โดยรวมแล้วชีวิตของลูกก็มีความสุขดีอยู่แล้ว แต่สุขใดๆก็เทียบไม่ได้กับความสุขที่ได้ช่วยให้คนเป็นคนดีค่ะ
 
    ตลอดเวลาที่ผ่านมา ลูกจึงมีความรู้สึกว่า ตัวเองเกิดมามีหน้าที่ขยายธรรมะและการปฏิบัติธรรมให้แก่ผู้อื่น ไม่ทราบว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือเปล่าคะ ทุกวันนี้ลูกยินดีจะช่วยอย่างเต็มที่ในการขยายธรรมะและการปฏิบัติธรรม ขอความเมตตาพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้โปรดคุ้มครองเมื่อลูกปฏิบัติธรรม เพื่อจะได้แน่ใจว่าลูกอยู่ในที่ที่ปลอดภัยค่ะ
 
กราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูงเจ้าค่ะ
 
ลูก...บี อินทกนก


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
สาวอัศจรรย์แห่งโจฮันเนสเบิร์กสาวอัศจรรย์แห่งโจฮันเนสเบิร์ก

อันเนื่องมาจากไข่เป็ดอันเนื่องมาจากไข่เป็ด

สาวอัศจรรย์แห่งโจฮันเนสเบิร์ก ตอนที่ 2สาวอัศจรรย์แห่งโจฮันเนสเบิร์ก ตอนที่ 2



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ