สุขวิหารีชาดก ชาดกว่าด้วยสุขอันเกิดจากการบรรพชา


[ 21 พ.ค. 2563 ] - [ 18275 ] LINE it!

ชาดก 500 ชาติ

สุขวิหารีชาดก-ชาดกว่าด้วยสุขอันเกิดจากการบรรพชา

พุทธกาลสมัยครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช

พุทธกาลสมัยครั้งที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช
  
       ในสมัยพุทธกาล หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชแล้วนั้น พระภัททิยะซึ่งเป็นพระอนุชาได้เสด็จเสวยราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์ สืบต่อสันตติวงศ์ แวดล้อมอยู่
ด้วยราชองค์รักผู้ถวายการอารักขาอย่างแน่นหนาและใกล้ชิด แต่พระองค์ก็ยังพระปริวิตกต่อภยันอันตราย อันจะพึงเกิดจากการประทุษร้ายอย่างเนืองนิตย์มิเคยมีความสงบ
และเป็นสุขเลย “ เฮ้อ เราจะทำเช่นไรดี มีแต่คนมุ่งจะปองร้าย แย่งชิงราชสมบัติ มองไปทางไหนก็มีแต่ทหารรายล้อม ไหนจะต้องคอยระวังตัว ไหนจะต้องแก้ปัญหา
ความเดือดร้อนของเหล่าราษฎร
 
พระภัททิยะได้เสวยราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อสันตติวงศ์
 
พระภัททิยะได้เสวยราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์สืบต่อสันตติวงศ์
 
        โอ้ย นี่ชีวิตเราจะหาความสงบไม่ได้เลยหรือ ” สมเด็จพระภัททิยะจึงตัดสินพระทัยออกผนวชในพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญเพียรจนหมดกิเลสเป็นพะรอรหันต์ เดินทางภิกขาจาร
ไปทุกหนทุกแห่งโดยลำพัง พระองค์ได้พบกับความสุขอย่างแท้จริง ด้วยไม่ข้องอยู่กับอิสริยยศและอันตราย จึงเปล่งอุทานขึ้นว่า “ เฮ้อ สุขจริงหนอ สุขจริง ” “ พวกท่านดูพระภัททิยะสิ
พร่ำบ่นว่า สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ เฮ้อ ช่างไม่สำรวมจริง ๆ ” “ อืม อย่างนี้ เราต้องนำความไปบอกพระแด่องค์พระศาสดาให้รู้สะแล้ว
จะได้ไม่เสื่อมเสียสมณเพศอย่างเรา ” “ ใช่ ๆ งั้นจะรออยู่ทำไม ไปกันเลยดีกว่า ”
 
พระภัททิยะทรงครองราชสมบัติด้วยความหวั่นวิตกเกรงต่อภัยพิบัติต่าง ๆ
 
พระภัททิยะทรงครองราชสมบัติด้วยความหวั่นวิตกเกรงต่อภัยพิบัติต่าง ๆ
 
       พระภิกษุทั้งหลายผ่านมาได้ยินเข้า จึงติเตียน แล้วไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ให้ทรงทราบ “ ข้าแต่องค์พระศาสดา ท่านภัททิยะกระทำตัวไม่เหมาะสม เป็นสมณะแท้ ๆ
แต่กลับอุทานออกมาว่า สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ” “ จริงด้วย สงสัยยังอาลัยกับราชสมบัติเป็นแน่ ” “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านภัททิยะมิได้เปล่งวาจาออกมาเพราะอาลัย
ในราชสมบัติกรุงกบิลพัสดุ์ และก็มิใช่ต้องการอวดอ้างความเป็นพระอรหันต์ ดังที่พวกท่านทั้งหลายหลงเข้าใจหรอกนะ นี่คือปกตินิสัยที่ท่านมีมาแต่ชาติปางก่อน ”
เมื่อได้ฟังดังนั้นพระภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลอาราธนา

พระภัททิยะตัดสินพระทัยออกบวชในพระพุทธศาสนา
 
พระภัททิยะตัดสินพระทัยออกบวชในพระพุทธศาสนา
 
      ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าเรื่องราวในอดีตชาติของพระภัททิยะให้ฟัง พระพุทธองค์จึงทรงระลึกชาติแต่หนหลังด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วตรัสแก่พระภิกษุ
ทั้งหลายดังนี้ พุทธกาลสมัยหนึ่ง ในรัชสมัยที่พระเจ้าพรหมทัตครองกรุงพาราณสีอย่างสงบร่มเย็นอยู่นั้น ยังมีฤาษีผู้มีความฉลาดปราดเปรื่องผู้หนึ่งมีนามว่า อุทิศจะ
อุทิศจะฤาษีได้พิจารณาเห็นโทษของการครองเรือนและเห็นอานิสงส์ของการออกบวช “ เฮ้อ เหตุไฉนชีวิตของเรานี่ จึงมีแต่ความวุ่นวาย มีความสุขแต่เพียงกาย
ภายนอก หาความสุขที่แท้จริงได้ยากยิ่งนัก เห็นทีเราต้องมุ่งหน้าเข้าหาธรรมสะแล้ว ”
 
พระภัททิยะมีความสุขจากการบรรพชาจนถึงขั้นเปล่งอุทานออกมาว่า สุขจริงหนอ
 
พระภัททิยะมีความสุขจากการบรรพชาจนถึงขั้นเปล่งอุทานออกมาว่า สุขจริงหนอ
 
       เมื่อคิดได้ดังนั้น อุทิศจะนำทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่มี ออกแจกจ่ายเป็นทานให้แก่คนยาก คนจน คนยากไร้ “ โอ้ย ท่านอุทิศจะ เอาของมาแจกแน่ะ พวกเรามารับกันเร็วๆ  ”
“ จำเริญ ๆ เถอะพ่อคุณ ” “ ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุขในทานที่เรามอบให้ อ้าว แบ่ง ๆ รับไปนะ ไม่ต้องแย่งกันนะ ได้ทุกคน ” “ ช่างใจบุญสุนทานจริง ๆ ” จากนั้นก็ตัดสินใจ
ออกบวชเป็นฤาษี มุ่งมั่นปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิจนได้ฌาณโลยีบรรลุสมาบัติ ๘ มีลูกศิษย์ลูกหามากถึง ๕๐๐ คน เป็นบริวาร จนเป็นที่เคารพนับถือยกย่อง
ของพระเจ้าพรหมทัตและชาวเมืองทั่วไปเป็นอันมาก ล่วงเข้าสู่ฤดูฝน มีฝนตกหนักไม่เหมาะแก่การเจริญภาวนาในป่า ฤาษีอาจารย์จึงพาศิษย์เข้ามาพำนักในเมือง
 
บรรดาภิกษุทั้งหลายต่างพากันตำหนิในการกระทำของพระภัททิยะ
 
บรรดาภิกษุทั้งหลายต่างพากันตำหนิในการกระทำของพระภัททิยะ
 
       พระเจ้ากรุงพาราณสีจึงพระราชทานพระราชอุทยานให้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนา “ นมัสการท่านอาจารย์ กำลังเข้าหน้าฝนแล้ว ข้าพเจ้าเห็นควรว่าให้ท่านอาจารย์
พาคณะศิษย์มาเจริญภาวนาในอุทยานของข้าพเจ้าด้วยเถิด อยู่ในป่าฟ้าฝนตก จะไม่สะดวกต่อการภาวนาธรรม ” “ เจริญพร ๆ มหาบพิตรช่างเป็นผู้มีน้ำใจจริง อาตมา
ก็ขอขอบใจมหาบพิตรมากนะ ” จวบจนสิ้นฤดูฝนพระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นว่าพระฤาษีอาจารย์นั้นชราภาพมากแล้ว จึงอาราธนาให้ท่านพำนักอยู่ต่อ
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ต่างนำความเรื่องของพระภัททิยะไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ได้ทรงทราบ
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ต่างนำความเรื่องของพระภัททิยะไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ได้ทรงทราบ
 
       ส่วนลูกศิษย์ก็ให้กลับไปบำเพ็ญเพียรในป่าหิมพานต์กันเองตามลำพัง“ มหาบพิตร บัดนี้ก็หมดหน้าฝนแล้ว อาตมาขอลาท่านไปเจริญภาวนาในป่าตามเดิมนะ ”
“ ช้าก่อนท่านอาจารย์ บัดนี้ท่านนั้นชราภาพมากแล้ว หากกลับไปอยู่ในป่าตามเดิม คงจะลำบากไม่ใช่น้อยทีเดียว ข้าพเจ้าใคร่ขออาราธนาให้ท่านอาจารย์พำนัก
ในอุทยานแห่งนี้ต่อไปเถิด ส่วนลูกศิษย์ทั้งหลายนั้น ก็ให้ไปบำเพ็ญเพียรภาวนาในป่าหิมพานต์กันต่อไป ”
 
อุทิศจะผู้มองเห็นโทษภัยในการครองเรือนว่ามีแต่ความวุ่นวายไม่สิ้นสุด
 
อุทิศจะผู้มองเห็นโทษภัยในการครองเรือนว่ามีแต่ความวุ่นวายไม่สิ้นสุด
     
       “ เจริญพร เจริญพร อาตมาขอขอบใจมหาบพิตรมากนะ ” พระฤาษีอาจารย์ตัดสินใจพำนักในอุทยาน และได้เรียกศิษย์คนโตมาบอกกล่าว และให้นำลูกศิษย์คนอื่น ๆ
กลับไปเจริญภาวนายังป่าหิมพานต์ตามเดิม “ ต่อจากนี้ไป อาจารย์จะเจริญภาวนาอยู่ในอุทยานแห่งนี้ อาจารย์ต้องฝากเจ้าให้ช่วยดูแลศิษย์น้อยทั้งหลายด้วยนะ ”
“ ขอรับท่านอาจารย์ ท่านอย่าได้กังวลไปเลย ข้าจะดูแลศิษย์น้องแทนท่านเอง ”
 
อุทิศจะได้นำทรัพย์สมบัติของตนออกมาแจกจ่ายให้กับคนยากไร้ก่อนที่ตนจะะออกบวชเป็นฤาษี
 
อุทิศจะได้นำทรัพย์สมบัติของตนออกมาแจกจ่ายให้กับคนยากไร้ก่อนที่ตนจะะออกบวชเป็นฤาษี
 
     “ ดีมาก ขอให้พวกเจ้าเดินทางกันโดยสวัสดิภาพนะ ” “ งั้นข้าขอกราบลาอาจารย์เลยนะขอรับ ” เมื่อออกเดินทางกลับไปภาวนาธรรมในป่าหิมพานต์ ศิษย์ทั้งหลาย
ก็ตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างสงบ โดยมีศิษย์คนโตเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย หลายวันผ่านไป ศิษย์คนโตก็เกิดคิดถึงและเป็นห่วงอาจารย์ฤาษีขึ้น “ เฮ้อ คิดถึงอาจารย์
เหลือเกิน ป่านนี้ท่านจะเป็นเช่นไรบ้างนะ นี่ก็นานวันแล้ว เห็นทีเราต้องไปเยี่ยมเยียนท่านในเมืองสักครั้ง ”
 
ฤาษีอุทิศจะมีลูกศิษย์มากมายถึง ๕๐๐ คน
 
ฤาษีอุทิศจะมีลูกศิษย์มากมายถึง ๕๐๐ คน
 
       “ ศิษย์น้องทั้งหลาย เราจะออกเดินทางไปเยี่ยมท่านอาจารย์ ในระหว่างที่เราไม่อยู่ พวกท่านจงหมั่นบำเพ็ญเพียรภาวนากันด้วยความสงบเถิด ” “ ขอรับศิษย์พี่ ท่านไปเถิด
ทางนี้ข้าดูแลเอง ” “ แหม เอาหน้าเชียวนะเจ้านี่ ศิษย์พี่ฝากความคิดถึง ถึงอาจารย์ด้วยนะ ” “ อย่าลืมบอกนะ ว่าพวกเราเป็นห่วง แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง สบายแฮ ”
ศิษย์คนโตเดินทางมาถึง ก็ได้พำนักในสำนักของอาจารย์
 
พระเจ้าพรหมทัตได้กราบนิมนต์ฤาษีอุทิศจะมาพำนักในเขตพระราชอุทยานของตนในช่วงฤดูฝน
 
พระเจ้าพรหมทัตได้กราบนิมนต์ฤาษีอุทิศจะมาพำนักในเขตพระราชอุทยานของตนในช่วงฤดูฝน
  
       ขณะที่ศิษย์คนโตกำลังนอนอยู่นั้น พระเจ้าพรหมทัตก็ได้เสด็จมาเพื่อกราบนมัสการพระฤาษีอาจารย์เช่นกัน “ เอ๊ะ นั่นใครมานอนอยู่น่ะ เป็นถึงนักบวชมานอนเพ้ออยู่ได้
ช่างไม่สำรวมจริง ๆ ขนาดเรามาแท้ ๆ ยังไม่ลุกขึ้นมาให้การต้อนรับอีก ” ฤาษีผู้เป็นศิษย์ แม้จะเห็นพระเจ้าพรหมทัตเสด็จมา ก็มิได้ลุกขึ้นถวายการต้อนรับตามมารยาทอันดี
แต่ประการใด กลับนอนเฉยเสีย มิหนำซ้ำยังเปล่งอุทานออกมาอีกด้วยว่า
 
ฤาษีอุทิศจะมอบหมายให้ศิษย์คนโตของตนนำศิษย์ทั้งหลายกลับเข้าป่าหิมพานต์ดังเดิมหลัวจากสิ้นฤดูฝน    

ฤาษีอุทิศจะมอบหมายให้ศิษย์คนโตของตนนำศิษย์ทั้งหลายกลับเข้าป่าหิมพานต์ดังเดิมหลัวจากสิ้นฤดูฝน
 
     “ สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ” พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเห็นแล้วก็ยิ่งรู้สึกขัดเคืองพระทัย จึงตรัสถามพระฤาษีอาจารย์ด้วยความกังวลว่า “ ข้าแต่พระฤาษีผู้เจริญ
ดาบสหนุ่มผู้นี้ เห็นทีจะฉันอาหารจนอิ่มหนำสำราญมากไปสะแล้ว ถึงคร้านที่จะลุกขึ้น ได้แต่นอนเปล่งอุทานสบายอารมณ์อันไม่ควรอยู่เช่นนี้ ” “ หาใช่เช่นนั้นไม่หรอก
มหาบพิตร

บรรดาศิษย์ของฤาษีอุทิศจะกลับมาบำเพ็ญสมณะธรรมที่ป่าหิมพานต์ดังเดิมหลังจากหมดฤดูฝน
 
บรรดาศิษย์ของฤาษีอุทิศจะกลับมาบำเพ็ญสมณะธรรมที่ป่าหิมพานต์ดังเดิมหลังจากหมดฤดูฝน
  
     ศิษย์ของเราผู้นี้ เดิมก็เป็นกษัตริย์เยี่ยงพระองค์ เหตุที่อุทานออกมาเช่นนั้น หาใช่เพราะความอิ่มจัด แต่เพราะไม่ต้องการกลับไปแสวงหาความสุขจากราชสมบัติต่างหาก
เมื่อพบว่าการได้ออกบวชเจริญภาวนาธรรมนั้น เป็นความสุขที่แท้จริง สุขยิ่งกว่าการเป็นกษัตริย์ ถือว่าเป็นสุขสองชั้น ก็เลยเปล่งอุทานออกมาเช่นนี้แหละมหาบพิตร ”
 
ศิษย์คนโตของฤาษีอุทิศจะนอนพักผ่อนโดยมิได้สนใจการมาของพระเจ้าพรหมทัต
 
ศิษย์คนโตของฤาษีอุทิศจะนอนพักผ่อนโดยมิได้สนใจการมาของพระเจ้าพรหมทัต
 
       ความสุขที่มาจากการออกบวชนั้น กล่าวคือ สุขที่ไม่ต้องหวาดผวาจากการถูกปองร้าย สุขที่ไม่ต้องมีภาระอันใหญ่หลวงในการดูแลทุกข์สุขของประชาราษฎร
และสุขที่ไม่ต้องเป็นภาระแก่ใคร ๆ ให้ต้องคอยปกป้องอารักขาความปลอดภัย ซึ่งนับเป็นความสุขชั้นแรก อนึ่งสุขจากการบรรลุธรรม
 
ฤาษีอุทิศจะได้อธิบายถึงเหตุผลที่ศิษย์ของตนได้รำพึงถึงเหตุแห่งความสุข
 
ฤาษีอุทิศจะได้อธิบายถึงเหตุผลที่ศิษย์ของตนได้รำพึงถึงเหตุแห่งความสุข
 
     เป็นสุขอันล้ำเลิศที่ไม่ต้องอาศัยบุคคลและวัตถุใด ๆ นับเป็นความสุขชั้นที่สอง ดังที่ฤาษีอาจารย์ได้กล่าวไว้ “ ชนเหล่าอื่นไม่ต้องรักษาผู้ใดด้วย ผู้ใดก็ไม่ต้องรักษาชนเหล่าอื่นด้วย
ดูก่อนมหาบพิตรผู้นั้นแลไม่เยื่อใยในกามทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข ” พระเจ้าพรหมทัต สดับพระธรรมเทศนาด้วยใจที่เบิกบานแฉ่มชื่น
 
เหตุแห่งความสุขของศิษย์คนโตคือการปลอดกังวลจากภาระทั้งปวงที่ตนเคยแบกรับอยู่
 
เหตุแห่งความสุขของศิษย์คนโตคือการปลอดกังวลจากภาระทั้งปวงที่ตนเคยแบกรับอยู่
 
       เข้าพระทัยแล้ว ก็มิได้ถือโกรธดาบสผู้นั้นอีกต่อไป “ ข้าพเจ้าเข้าใจดีแล้ว ถ้าเช่นนั้น ข้าพเจ้าขอลากลับก่อนนะท่านฤาษีผู้เจริญ ” “ เจริญพรเถอะมหาบพิตร ” ดาบสผู้ศิษย์เอก
ก็กราบลาพระอาจารย์กลับสู่ป่าหิมพานต์บำเพ็ญเพียรต่อไป ส่วนพระอาจารย์ได้พำนักอยู่ ณ พระราชอุทยานจนสิ้นอายุขัย เมื่อละโลกไปแล้ว ได้ไปบังเกิดในพรมโลก
ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ
 
ศิษย์คนโตได้ลาฤาษีอุทิศจะกลับไปยังป่าหิมพานต์
 
ศิษย์คนโตได้ลาฤาษีอุทิศจะกลับไปยังป่าหิมพานต์
 
 
ในพุทธกาลสมัยต่อมา ลูกศิษย์คนโตกำเนิดเป็นพระภัททิยะ
พระฤาษีอาจารย์ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 
 
 


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
ตัจฉกสูกรชาดก ชาดกว่าด้วยหมูพร้อมใจกันสู้เสือตัจฉกสูกรชาดก ชาดกว่าด้วยหมูพร้อมใจกันสู้เสือ

ทิปิชาดก ชาดกว่าด้วยแพะกับเสือเหลืองทิปิชาดก ชาดกว่าด้วยแพะกับเสือเหลือง

ปัพพตูปัตถรชาดก ชาดกว่าด้วยอภัยโทษปัพพตูปัตถรชาดก ชาดกว่าด้วยอภัยโทษ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

นิทานชาดก 500 ชาติ