ประเภทของพระบรมธาตุ


[ 7 ก.พ. 2557 ] - [ 18298 ] LINE it!

พระบรมธาตุ
ประเภทของพระบรมธาตุ

ประเภทของพระบรมธาตุ

ประเภทของพระบรมธาตุ
มีวิธีแบ่งตามความสมบูรณ์ของสภาพหลังพิธีเผาสรีระธาตุ

1. นวิปปกิณณาธาตุ

      คือพระบรมธาตุที่ยังอยู่เป็นชิ้นสมบูรณ์ มี 7 องค์ ได้แก่ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์, พระรากขวัญ (ไหปลาร้า 2 องค์) และพระอุณหิศ (พระนลาฎหรือหน้าผาก) 1 องค์ พระเขี้ยวแก้วองค์ด้านขวาบนอยู่ที่ดาวดึงส์ องค์ซ้ายล่างอยู่ที่นาคพิภพ องค์ซ้ายบนอยู่ที่เมืองแคนดีศรีลังกา องค์ขวาล่างอยู่ที่พระเจดีย์อุทกปุพพุลละในป่ารังแถบลุ่มแม่น้ำเสรุ พระรากขวัญองค์หนึ่งอยู่ที่เมืองอนุราชสิงหลในลังกา อีกองค์อยู่ที่พรหมโลก พระอุณหิศหรือพระนลาฎนั้นอยู่ที่เจดีย์บนยอดเขาโสณฑิยะ ระหว่างแม่น้ำเสรุกับแม่น้ำวรภะบนฝั่งขวาของแม่น้ำมหาวาลุกคงคาเมืองอนุราชสิงหล

2. วิปปกิณณาธาตุ


     คือพระบรมธาตุส่วนที่แยกกระจัดกระจายเพื่อยังประโยชน์แก่มหาชนและสรรพสัตว์สรรพวิญญาณทั้งหลายตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนเสด็จปรินิพพาน ดังที่ปรากฏอยู่ใน “ตำนานมูลศาสนา” และ “ชินกาลมาลีปกรณ์” “ว่า..” เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ศาสนาจักไม่กว้างขวาง ขอให้ธาตุ 7 ส่วน (นวิปปกิณณาธาตุ) อย่าแตกย่อย ธาตุอื่นนอกจากนี้ ขอให้แตก ย่อยเท่าเมล็ดถั่วถิม เท่าเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง เท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด (รวมประมาณ 16 ทะนานเล็ก) จงกระจัดกระจายให้คนทั้งหลายอันประกอบด้วยศรัทธาได้อุปัฎฐากบูชาเพื่อเป็นเหตุแห่งสุคติ เถิด

นอกจากนี้ยังมีการแบ่งในลักษณะอื่นๆ เช่น


      พระธาตุที่เป็นกระดูกของพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์จริงๆ (เช่นองค์ที่บรรจุอยู่ในพระปฐมเจดีย์ หรือภูเขาทอง)

       พระธรรมธาตุ อันเกิดจากพุทธานุภาพ (พลังธรรมจักรฯ) ที่มีต่อสิ่งอื่น (มิใช่ร่างกายของพระพุทธเจ้า) เมื่อพระพุทธเจ้าบรรลุนิพพานมรรคแล้ว สรรพสิ่งทั้งหลายที่พระองค์เคยปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับปราณของท่านจะค่อยๆ ทยอย (ตามพุทธสรีระ) กลายเป็นพระธาตุไปตามลำดับความเข้มข้นของพุทธปราณ โดยเหตุนี้จึงมีพระธาตุมากมาย (พระธาตุของพระอรหันต์ก็เป็นไปตามหลักการนี้ และเป็นไปตามลำดับความเข้มข้นของพลังพระรัตนตรัยหรือพลังธรรมจักรฯ ที่หล่อเลี้ยงธาตุขันธ์ โดยพระอรหันต์ได้ธรรมจักรฯ อันเป็นนิพพานมรรคจากพระพุทธเจ้าองค์ใด ในธาตุขันธ์ของพระอรหันต์องค์นั้นก็จะค่อยๆ บริสุทธิ์กลายเป็นพระธาตุ และเป็นสาวกบริวารของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีที่สุดคืออายตนะนิพพานอันมีพระพุทธเจ้าองค์นั้นเป็นประธานนั่นเอง)

      บางครั้งมีการแบ่งชนิดของพระธาตุเป็นชนิดเม็ดกรวดเม็ดทราบ และชนิดหินปูน ชนิดหินปูนจะมีลักษณะสวยงาม มักจะมีขนาดเล็ก แวววาวดุหมดจดสวยงาม ผู้ที่ยังติดความสวยงามหรือมีตัวหลงอยู่มากมักจะให้ความสำคัญและความศรัทธาพระธาตุชนิดที่เหมือนกรวดทราย แต่ก็มีผู้รู้ในอดีตหลายท่านที่ให้ความสำคัญพระบรมธาตุชนิดเม็ดกรวดเม็ดทราย (ซึ่งเหมือนกระดูก และมีความสวยน้อยกว่าประเภทหินปูน) ผู้รู้เหล่านี้ได้แก่

     -    พระสังฆราช (วาสน์) : ทรงเชื่อมั่นในพระบรมธาตุแบบเม็ดกรวดเม็ดทราย เพราะส่วนใหญ่แสดงอานุภาพเป็นแสงนวลปลั่งลอยวนสถานที่ประดิษฐาน ลอยเป็นกลุ่มผ่านไปในอากาศ หรือเป็นแสงสว่างโพลงขึ้นในที่มืด เช่นที่พระปฐมเจดีย์

      -    ลอร์ดเคอร์ซัน อุปราชประจำอินเดียชาวอังกฤษ ได้ขดพบพระธาตุและมีคำแปลว่า กระดูกสมณะโคดม

     -    พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ได้ให้ทรรศนะว่าพระปฐมเจดีย์ก็เป็นแบบกระดูกคน

     -    พลตรี ม.ร.ว. คึกฤทธ์ ปราโมช เขียนถึงพระบรมธาตุที่ภูเขาทองว่านักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าเป็นกระดูกคน

     -    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

     -    พระองค์เจ้าปฤษฎางค์

     -    พระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ทรงนิยมยกย่องและสะสม พระบรมธาตุเป็นที่สุด โดยถือเป็นเครื่องมงคลอันสูงสุด

     -    พระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ก็ทรงนิยมและสักการะบูชาพระบรมธาตุเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน

จาก :  หนังสือพระบรมธาตุ เขียนโดย : อ.บริภัทร
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ.2539



Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินันโท)พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินันโท)

พระราชภัทรธาดา (ประเทือง กิตฺติสทฺโท) เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรีพระราชภัทรธาดา (ประเทือง กิตฺติสทฺโท) เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี

พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) รองสมเด็จพระราชาคณะพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) รองสมเด็จพระราชาคณะ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พระพุทธศาสนา