การบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 2


[ 4 ก.ค. 2556 ] - [ 18271 ] LINE it!

 
การบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 2
 
การบวชเป็นประเพณีไทยที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล
 การบวชเป็นประเพณีไทยที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล
 
       การบวชเป็นประเพณีไทยที่สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวชจะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสืบทอดพระพุทธศาสนา สร้างบุญกุศลอันยิ่งให้ให้ตัวเอง บิดา มารดา และหมู่ญาติ จากตอนที่แล้วเราได้นำเสนอเรื่องราวของการบวช ความหมายและวัตถุประสงค์ของการบวชกันไปแล้ว
 
       ในวันนี้เราจะมาศึกษากันต่อในขั้นตอนของธรรมวินัย โดยได้รับความเมตตาของพระเดชพระคุณพระธรรมกิตติวงศ์ ราชบัณฑิต วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร  
 
     อันดับต่อไปจะได้พูดถึงเรื่องวิธีการบวชหลังจากที่ได้ทราบว่าบวชคืออะไร บวชทำไม บวชเพื่อประสงค์อะไร หรือบวชดีอย่างไร หรือบวชอย่างไรได้กำไร บวชอย่างไรขาดทุน หลังจากที่ได้ทราบการบวชโดยกว้างๆ แล้ว ต่อไปก็จะได้พูดถึงวิธีการบวช รายละเอียดที่พอจะแนะนำหรือพอที่จะพูดได้ เพราะว่าวิธีการบวชนั้นเป็นเรื่องของพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไวเคร่งครัด พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ละเอียดถี่ถ้วน ว่าต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้
 
           ในประเทศไทยเราปัจจุบันก็มีกฎระเบียบออกมาหลายข้อหลายประการ ในเรื่องการบวชโดยเฉพาะบุคคลให้บวชคือพระอุปัชฌาย์และกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติม คือในพระวินัก็มีคุณสมบัติอยู่แล้ว แต่ว่าในประเทศไทยก็กำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติม เพื่อให้ละเอียดลออขึ้น เป็นการคัดกรองบุคคลที่จะเข้ามาบวช
 
การบวชพระ
การบวชพระเป็นสิ่งที่มีค่า ที่บุตรพึงกระทำต่อบิดามารดา
 

       ประการต้น การบวชนั้นจะต้องทำให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย  ผู้บวชต้องมีพระอุปัชฌาย์ พระอุปัชฌาย์ หมายถึงผู้ที่รับรอง รับรองผู้ที่จะบวช ว่าสามารถเป็นพระได้มีคุณสมบัติครบถ้วน มีผู้สวด ผู้สวดประกาศให้พระสงฆ์ทั้งหลายได้รับทราบ ว่าท่านผู้นี้ ชื่อนี้ มีคุณสมบัติครบถ้วสมบูรณ์แล้ว พระสงฆ์จะยอมรับเข้าคณะหรือไม่ และต้องมีรับรองที่เราเรียกว่า พระอันดับ รับรองยอมรับเข้าหมู่เข้าคณะวิธีที่การรับรองว่ายอมรับเข้าหมู่เข้าคณะวิธีการรับรองยอมรับเข้ามาในหมู่ในคณะอย่างนี้ภาษาพระเรียกว่า อุปสมบทกรรม คือ การให้อุปสมบท หรือการให้บวช แก่กุลบุตร ผู้มีศรัทธาจะบวช จัดว่าเป็น สังฆกรรม ก็คือการต้องทำเป็นหมู่ เป็นคณะ รับรององค์เดียวรูปเดียวไม่ได้ ต้องเป็นหมู่เป็นคณะเป็นเรื่องของสงฆ์ นี่ประการต้น 

         ประการต่อมา สถานที่ทำต้องอยู่ภายในเขตสีมา เขตสีมาก็คือเขตที่กำหนดให้ ทำสังฆกรรมได้โดยเฉพาะ เป็นเขตที่เป็นอิสระจากบ้านเมือง เราเรียกตามพระวินัว่า “วิสุงคามสีมา” ในประเทศไทยเรา เราก็จะเรียกกันว่า โบสถ์ ก็คือเขตสีมาที่ทำบุพกรรม และทำสังฆกรรมอย่างอื่นได้ เกี่ยวกับเรื่องการบวชต้องทำในเขตสีมานั้น อันนี้เป็นข้อใหญ่ใจความว่า การบวชนั้นต้องมี พระอุปัชฌาย์ พระสวด พระอันดับ ร่วมกันทำเป็นสังฆกรรม และทำในเขตสีมาส่วนรายละเอียดในการทำ ในการปฏิบัตินั้น ก็มีรายละเอียดมาก ไม่อาจที่จะขยายความด้วยเวลาไม่มากนักอย่างนี้ได้ ท่านที่เคยเข้าไปในเวลาที่พระท่านทำสังฆกรรมนั้นจะรู้ว่าท่านนำอะไรบ้างในรายละเอียด ประมาณในเรื่องตัวผู้บวช ตัวผู้บวชนี้ พระพุทธเจ้าทรงคัดกรองมาก ทรงกำหนดบุคคล กำหนดลักษณะผู้ที่จะบวช ว่าจะต้องมีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้เพราะฉะนั้นในเวลาที่ทำอุปสมบทกรรมพระผู้สวดท่านก็จะสวดประกาศให้พระสงฆ์รับทราบถามผู้ที่จะบวชพระเรียกว่า “อันตรายิกธรรม”  คือการถามคุณสมบัติ โดยเฉพาะคุณสมบัติที่สำคัญ อย่างที่ท่านทั้งหลายที่เคยบวชมาแล้วก็จะรู้ว่าพระผู้สวดนั้นถามอะไรบ้าง เช่นถามว่า

กุฏฐัง (โรคเรื้อน) หมายความว่าท่านเป็นโรคเรื้อนไหม
ผู้บวชนั้นจะตอบว่า นัตถิ ภันเต แปลว่าไม่มี ไม่เป็น
คือรับว่าผมไม่ได้เป็นโรคเรื้อน ท่านถามต่อไปว่า
คัณโฑ (โรคฝี) นัตถิ ภันเต
กิลาโส (โรคกลาก) นัตถิภันเต
โสโส(โรคหืด) นัตถิภันเต
อะปะมาโร (โรคลมบ้าหมู) นัตถิภันเต 

         โรคเหล่านี้เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ โรคกลาก เกลื้อน คันคะเยอ โรคฝี โรคเหล่านี้ถ้าหากเป็นโรคที่ไม่หายขาดพระพุทธเจ้าบอกว่าห้ามบวชเพราะว่าท่านทั้งหลายลองคิดดูว่าพระที่ท่านทำบุญใส่บาตร ในเวลาที่ลงศาลาก็ดี ที่ลงสวดก็ดี สวดไปสวดมาก็เกาตรงนั้นตรงนี้ เพราะว่าเป็นโรคเรื้อนเป็นโรคกลากเป็นโรคฝี ชักดิ้นชักงอ หรือว่าเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ ท่านทั้งหลายลองนึกดูว่าจะเป็นอย่างไร น่าศรัทธา น่าเลื่อมใสหรือไม่ เมื่อไม่เป็นโรคนี้ท่านก็ถามต่อไปว่า

         ปุริโสสิ (เจ้าเป็นชาย) อามะ ภันเต  เป็นชายใช่ไหม ทำไมท่านถึงถามบ่งบอกเลยว่าผู้หญิงบวชไม่ได้ต้องผู้ชาย เป็นกะเทยก็บวชไม่ได้ คนสองเพศก็บวชไม่ได้ ตัวเป็นชาย ใจเป็นหญิงก็บวชไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้เป็นชายแท้  

          มนุสโสสิ (เจ้าเป็นมนุษย์) อามะ ภันเต เป็นมนุษย์ใช่ไหม ถ้าไม่เป็นมนุษย์จะเข้ามาวัดเข้ามาบวชได้อย่างไรก็ในสมัยพุทธเจ้าก็ดี หรือก่อนหน้านี้ก็ดี มีพญานาคปลอมมาบวช มีสัตว์เดรัจฉานปลอมมาเป็นคนแล้วก็มาบวชจึงต้องถามก่อนว่าเป็นมนุษย์ใช่ไหม แล้วถ้าโกหกก็ต้องยอมรับเพราะสมัยก่อนคนเราไม่พูดโกหกได้เท่ากับสมัยปัจจุบันเมื่อถามแล้วก็ตรงๆ ในสมัยพุทธเจ้า พระอุปัชฌาย์ก็ดี ผู้สวดก็ดี เป็นพระอรหันต์ เมื่อเป็นพระอรหันต์รู้ว่าเป็นมนุษย์จริงหรือไม่จริง เพราะฉะนั้นจึงไม่ให้โกหก ถึงเป็นโรคภัยไข้เจ็บมองไม่เห็นแต่ก็ไม่โกหกถึงยังไงก็รู้อยู่แล้วก็ต้องถาม หรือถามต่อไปว่ามีบาตรมีจีวรไหม พ่อแม่อนุญาตหรือยังหรือว่าเป็นราชภัฏหรือไม่ ราชภัฏคือราชการ หนีมาบวชหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ต้องถามที่พระผู้สวดท่านถาม

ภุชิสโสสิ (เจ้าเป็นไทมิใช่ทาส) อามะ ภัณเต 
อะนะโณสิ (เจ้าหาหนี้สินมิได้) อามะ ภันเต


บวชเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสืบทอดพระพุทธศาสนา
บุญกุศลจากการบวชสามารถปิดอบายและเปิดทางไปสวรรค์แก่ผู้บวช
ส่งผลโดยตรงกับพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ผู้ร่วมอนุโมทนา และผู้ที่เราอุทิศให้

 
         ทำไมจึงต้องคัดกรองขนาดนั้นก็เพื่อได้คนที่ดีที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด เข้ามาอยู่ในหมู่คณะที่เรียกว่าหมู่ภิกษุสงฆ์ ไม่ใช่ว่าใครก็ได้ พอดีพอร้าย ความวุ่นวายในสมัยพระพุทธเจ้าแทบไม่มีเลยในตัวผู้บวชเพราะว่าได้คัดกรองมาดีแล้ว ในพระอุปัชฌาย์ พระผู้สวด พระอันดับ ช่วยกันคัดกรอง ที่บวชเข้ามาแล้วก็จะไม่มีปัญหา ก็มีบ้างพระที่มีปัญหาทีทำตัวเป็นพระไม่ดีไม่ถูกต้องในสมัยพุทธกาลก็ดีแต่ว่ามาเป็นในภายหลัง ในปัจจุบัน ปัญหาพระมีมากสาเหตุหนึ่งเรื่องการคัดกรองบางครั้งบางแห่งก็ย่อหย่อนไปบางครั้งก็โกหกพระอุปัชฌาย์ พระผู้สวด ปัญหาก็เลยเกิดขึ้น แท้ที่จริงแล้ววิธีการคัดกรองพระเหล่านั้นก็สามารถทำตามพระวินัยสามารถคัดกรองได้แต่เรื่องจากว่าบางครั้งบางคราวก็อลุ่มอล่วยกัน

       ในสมัยพุทธกาลท่านคัดกรองคุณสมบัติกว้างๆ ในประเทศไทยเรามีกฎระเบียบอีกว่าผู้ที่จะบวชนั้นจะต้องอ่านออกเขียนได้ อย่างน้อยต้องอ่านออกเขียนได้ อ่านภาษาไทยได้ อ่านภาษามคธได้ อ่านภาษาบาลีได้ ไม่เป็นใบ้ พูดขานนาคชัดเจน ต้องว่าได้ด้วยตนเอง นี่เรามีกฎมีระเบียบอยู่แล้วเนื่องจากความอลุ่มอล่วย เราจะเห็นได้จากบางที่บางแห่ง สอนคำต่อคำเลยที่เดียว สอนว่าอย่างนี้ยังว่าตามไม่ได้ เริ่มผิดแล้ว เริ่มไม่ถูกแล้ว เพราะฉะนั้นถ้ามีการคัดกรองแล้วก็ปฏิบัติตามกฎตามระเบียบกัน ก็จะทำให้ได้พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนแล้วก็มีความบริสุทธิ์ตั้งแต่เริ่มต้นความสำคัญในการบวชก็จะมีอยู่บนโลก

        การบวชในร่มเงาบวรพระศาสนามีความจำเปนอย่างยิ่งสำหรับชีวิตลูกผู้ชายทุกคน เพราะการบวชเป็นทางมาแห่งการฝึกฝนอบรมตนเองตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งนอกจากผู้บวชจะต้องมีคุณสมบัติตามพระวินัยแล้วธรรมเนียมปฏิบัติที่ยึดถือมาแต่โบราณอย่างที่ผู้เข้ารับการอุปสมบทจะต้องทำเช่นเดียวกัน

        นอกเหนือจากพระวินัยจะต้องประพฤติปฏิบัติในเรื่องธรรมวินัยอย่างที่ได้กล่าวมาย่อๆนี่แล้วกฎระเบียบยังกำหนดไว้จนกระทั่งปฏิบัติจนกระทั่งเป็นธรรมเนียมก็มีนั่นก็คือผู้ที่จะบวชนั้นต้องมาอยู่วัดก่อนต้องมาท่องมาบ่น มาฝึกซ้อม หัดกราบ หัดไหว้แล้วต้องว่าขานนาคต้องโต้ตอบได้
 
การบวชพระ การบวชในร่มเงาบวรพระศาสนามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชีวิตลูกผู้ชายทุกคน
การบวชในร่มเงาบวรพระศาสนามีความจำเปนอย่างยิ่งสำหรับชีวิตลูกผู้ชายทุกคน


        ถ้าสมัยโบราณมาอยู่วัดกันสามเดือนก็มีสองเดือนก็มีท่องบ่นภาวนาท่องสวดมนต์ได้คือเป็นพระแล้วว่าได้สวดได้ทีเดียวนุ่งห่มได้เรียบร้อยสวยงามมาฝึกกันตั้งแต่ก่อนบวชเป็นเดือนๆ อย่างดีก็แค่สามวันเจ็ดวันไม่พอยังว่าไม่คล่องว่าไม่ได้ เพราะฉะนั้นยังสังเกตเห็นว่าบวชมาแล้วก็ยังว่าไม่ได้สึกไปแล้วก็ยังว่าไม่ได้เพราะก่อนบวชยังไม่ได้ฝึกก็ถือว่ายังไม่สมบูรณ์ ไม่ครบถ้วนก่อนบวช ถามว่าเป็นพระไหม เป็นแต่ว่าไม่ได้ประโยชน์ไม่ได้อานิสงส์การบวชสมบูรณ์ก็คือไม่ได้ทำวัตรสวดมนต์ ไม่ได้ท่องบทภาวนา บางที่ก็ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน บางที่ก็ไม่ได้หมั่นเพียรปฏิบัติ เพราะมีเวลาน้อยบางที่ก็สักแต่ว่าได้บวช คำว่าได้บวชก็คือเป็นพระที่ถูกต้องตามพระวินัยจริงแต่ว่าบวชแล้วไม่ได้บวชแล้วไม่ได้อานิสงค์เต็มที่ น่าเสียดาย คือได้บวชดีแล้ว ได้ให้พ่อแม่เห็นชายผ้าเหลืองดีแล้วได้ห่มผ้ากาสาวพัตร ดีแล้วแต่ว่าจะดียิ่งๆ ขึ้นไปคือมีโอกาสได้ทำวัตรสวดมนต์ ได้ศึกษาเล่าเรียน ได้หมั่นเพียรปฏิบัติขัดเกลากิเลสของตนเองหรือได้ฝึกฝนเพียงเล็กน้อยหรือได้นำไปใช้ นำเอาไปประพฤติปฏิบัติหลังจากศึกษาลาเพศไปแล้วได้อานิสงค์ต่อไปไม่ขาดสายไม่หมดไม่สิ้นใช้ได้ตลอดชีวิต ศึกษาเล่าเรียนธรรมะ รู้ธรรมะ คำสอนพระพุทธเจ้า ในเรื่องวิธีการบวชเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก
 
          กล่าวโดยสรุปคือว่ามีข้อกำหนด มีรายละเอียดสำหรับประพฤติปฏิบัติ ต้องเตรียมตัวแล้วเตรียมใจ คนที่จะบวชต้องเตรียมตัวให้พร้อม แล้วก็เตรียมใจให้พร้อม เตรียมตัวให้พร้อมก็คือทำตัวให้มีคุณสมบัติ นั่นก็คือต้องเป็นผู้ชาย เป็นมนุษย์ เวลานี้เข้าใจว่าสัตว์เดรัจฉานที่มีฤาษีจะปลอมเป็นมนุษย์มาบวชก็คงไม่มี แต่ก็ป้องกันไว้ก่อน แล้วก็เป็นชาย ไม่ใช่กึ่งชายกึ่งหญิง มีนิสัยเป็นผู้ชาย มีความคิดจิตใจเป็นผู้ชาย ไม่มีหนี้สิน อย่าไปก่อนี้สินกับใคร เป็นไทแก่ตนเองไม่เป็นทาสของใคร ทาสในที่นี้ก็คือเป็นเรื่องของสมัยก่อน สมัยพุทธการก็ดีหรือสมัยก่อนรัชกาลที่ห้าเราก็ยังมีทาสอยู่ ถ้าเป็นทาสแล้วบวชไม่ได้ต้องเป็นไทแล้วอิสระแล้วก็พ่อแม่ต้องอนุญาตให้บวช ถ้าเป็นคนต่างชาติต่างศาสนาอันนี้สำคัญ จะต้องเป็นคนพุทธเพราะคนพุทธจะต้องมาปฏิบัติธรรมจนแน่ใจว่าบวชได้ไม่ใช่บวชมาแอบแฝงเพื่อประทุษร้ายพระศาสนา ไม่ใช่แบบนั้น คุณสมบัติเหล่านี้ต้องมีเตรียมให้พร้อม เมื่อเตรียมพร้อมแปลว่าพร้อมที่จะบวชในขณะเดียวกันก็ต้องระวังโรค โรคสำคัญๆ โรคเรื้อน โรคกลาก โรคลมบ้าหมู โรคฝีโรคอะไรต่างๆ ต้องพยายามไม่ให้มีไม่ให้เป็นถ้ามีถ้าเป็นต้องรักษาให้หายขาด จึงจะได้คุณสมบัติอันนั้น นั่นคือเตรียมกาย เตรียมกายในส่วนที่เป็นร่างกายจริงๆ นั่นพร้อมแล้ว ต่อมาก็คือเข้าวัดสมัครตัวเข้ามาวัดเมื่อจะบวชคนที่พร้อมที่จะบวชแล้วสมัครตัวเข้ามาวัดวันแรกส่วนใหญ่จะสมัครในวัดอาจจะเป็นอุปัชฌาย์ก็ได้ไม่เป็นก็ได้

        เมื่อสมัครแล้วโบราณเรียกกันว่านาค คำว่านาคมีความหมายได้หลายอย่าง หมายถึงพญานาคหมายถึงสัตว์เดรัจฉานหรืองูใหญ่ นาคมีความหมายหนึ่งแปลว่าผู้ไม่มีทุกข์ หรือนาคหมายถึงผู้เตรียมตัวจะบวชผู้ที่เตรียมตัวจะบวชเราเรียกว่านาคในความหมายที่เราเรียกโดยทั่วไปก็คือเตรียมตัวจะบวชแล้วเริ่มจะไม่มีทุกข์แล้วเริ่มไม่มีทุกข์ก็กำจัดปล่อยวางเพราะว่าจะบวชแล้วต้องการตัดภาระ พยายามมุ่งมั่นที่จะบวชท่องบ่นท่องคำขานนาค ท่องคำขอบวช ท่องโน่นท่องนี่ มาฝึกหัดกราบ ฝึกหัดไหว้ ลุกขึ้น นั่งอะไรต่างๆ ต้องฝึก ฝึกก่อน นั่นก็คือธรรมเนียม ให้พร้อมทางกาย เมื่อกายเราพร้อมก็บวชได้แล้ว แต่ว่า การบวชนั้นไม่ใช่เพียงแค่ว่าบวชกาย การบวชกายเป็นการบวชแค่ภายนอกเป็นการบวชเพื่อให้ถูกต้องธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้เมื่อกายพร้อม ท่องบ่นได้ มีคุณลักษณะมีคุณสมบัติทางร่างกายพร้อมไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ พ่อแม่อนุญาต ไม่มีหนี้สิน ทุกอย่างพร้อมแล้ว บวชแล้ว ถูกต้องตามพระวินัย บวชในศีล มีพระอุปัชฌาย์ มีพระสวด มีพระวินัย บวชอย่างนี้กายพร้อม พร้อมภายนอกบวชได้เป็นพระได้ถูกต้องตามพระวินัย อานิสงส์ได้แล้ว แต่ว่าส่วนตัวยังไม่ได้ พ่อแม่ได้แล้ว ได้ชื่นอกชื่นได้ ตัวเองได้ห่มผ้ากาสาวพัตร ภายนอกได้แล้ว สำคัญคือต้องบวชใจด้วย บวชนอกแล้วต้องบวชในด้วย บวชกายแล้วก็บวชใจด้วย     บวชใจ ก็คือใจต้องยินดีน้อมรับ ที่ประพฤติปฏิบัติ ตามกรอบของพระวินัย “ใจ ต้องเป็น พระ” ทำใจให้เป็นพระคือยินดีน้อมรับ ที่จะประพฤติปฏิบัติตามกฎของพระวินัย บวชใหม่ก็ต้องเคารพ เชื่อฟัง พระพี่เลี้ยง อุปัชฌาย์ อาจารย์ ที่คอยแนะนำสั่งสอน พระที่เข้าบวชเก่าบวชมาก่อน แนะนำอะไรก็เชื่อฟัง หรือในขณะเดียวกันก็ยินดีในการที่จะศึกษาเรียนรู้ว่าเค้านุ่งอย่างไรห่มอย่างไร บางทีไม่ต้องแนะนำไม่ต้องสั่งสอน ใช้ตาดู ใช้หูฟังว่าเค้าพูดอย่างไร เรียนรู้จากตา จากหู ใช้ตาเป็นครู ใช้หูเป็นอาจารย์ถ้าทำได้แบบนี้ใจจะค่อยๆ อ่อนลงๆ ใจก็จะเหมือนพระ กายก็เป็นพระ ใจก็เป็นพระ เป็นพระทั้งกายทั้งใจ เป็นพระจริงพระแท้ พระสมบูรณ์ ก็ถือว่าเป็นเนื้อนาบุญที่ยอดเยี่ยม เรียกได้ว่า เป็น ปุญเขตตัง อนุตรังหรือเป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยมของชาวโลกเป็นเนื้อนาบุญที่สำคัญ ชาวบ้านญาติโยมทั้งหลายที่เค้าทำบุญใส่บาตรเค้าก็ได้บุญ เค้ากราบเค้าไหว้เค้าก็ได้บุญ ตัวเราก็ได้บุญได้ตรงที่เราทำตัวให้เข้าได้บุญ เราก็ได้บุญด้วย คือเราเป็นผู้ให้ให้เค้าได้บุญชาวบ้านญาติโยมได้บุญ ความเป็นพระจริงพระแท้ ทำให้ชาวบ้านญาติโยมได้บุญ ทำตัวเป็นเนื้อนาบุญที่ดีของชาวโลกเป็นพระจริงพระแท้เป็นลูกของพระพุทธเจ้าที่น่าเคารพน่ากราบน่าไหว้เป็นผู้สืบสานพระศาสนาเข้าไปได้รักษาพระพุทธศาสนาเข้าไปได้ พระพุทธศาสนายั่งยื่นมาตราบทั่งถึงทุกวันนี้ก็เพราะอาศัยพระจริง พระแท้ ที่เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของชาวโลก
 
บวชเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสืบทอดพระพุทธศาสนาบวชเพื่อศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสืบทอดพระพุทธศาสนา
 
 
       ถ้าตราบใดยังมีตราบนั้นพระพุทธศาสนาก็ยังจะมั่นคงแข็งแรงถาวรแผ่ขยายสืบสานกันต่อไปตราบใดสิ้นพระจริงพระแท้หมดสิ้นพระที่เป็นเนื้อนาบุญที่แท้จริงของชาวโลกพระพุทธศาสนาก็จะอันตรธานไปแน่นอน เพราะฉะนั้นในเรื่องวิธีการบวชเป็นวิธีการเริ่มต้น จึงเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญ ทำให้ถูกต้องเป็นพื้นฐาน ทำให้ดีเป็นพื้นฐาน ทำให้หนักแน่น แล้วก็จะศักดิ์สิทธิ์ แล้วจะทำให้เกิดความมั่นใจเกิดความมั่นคง ญาติโยมชาวบ้านเห็นก็จะเกิดความประทับใจ ตัวผู้บวชเองแม้จะยากจะลำบากแต่ถ้าผ่านไปได้ก็จะเกิดความปลื้มใจความปีติยินดี ว่าทำสิ่งที่ทำได้ยากแล้ว ได้แล้ว ผ่านได้แล้ว ปลื้มอกปลื้มใจ เหมือนคนเราถ้าลองผ่านปัญหาที่หนักๆ ผ่านเรื่องราวอุปสรรคที่ใหญ่ๆ เข้ามาได้ผ่านมาได้โดยสวัสดี มานึกถึงความหลังที่ไรก็จะปลื้มใจว่าเราได้ผ่านเหตุการณ์ตรงนั้นตรงนี้มาเป็นการประทับใจ อุปสรรคปัญหาความยุ่งยากลำบากทั้งหลายทั้งปวงก็จะเป็นสิ่งที่จดจำจารึกทำให้ชีวิตมีคุณค่าและทำให้ชีวิตของเรานั้นมีความสุขกับอดีตความสุขกับความยากลำบากเหมือนกับผู้ที่บวชมา ความเป็นพระลำบากอย่างไรผ่านมาได้สามปีห้าปีสิบปีจะชื่นใจนึกขึ้นมาที่ไรก็ได้บุญได้กุศลได้ความสุขนั่นก็ถือว่ามีความสุขเป็นกำไรมีบุญเป็นกำไรจากการบวชทำให้ดีทำให้ถูกต้อง นั่นแหละคือที่สุด ก็ขอฝากท่านทั้งหลายที่จะบวชและเป็นความรู้ในเรื่องการบวชโดยเฉพาะเรื่องวิธีการบวชแก่ท่านทั้งหลายที่สนใจ ขอจงมีแต่ความสุข ความเจริญก้าวหน้าจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลายทุกท่านเทอญ

    ผู้ที่มาบวชถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีบุญมาก เพราะเพศสมนะนั้นไม่ใช่ว่าใครๆ จะถือครองได้ง่ายๆ ต้องสั่งสมบุญมาข้ามภพข้ามชาติ เมื่อบารมีมากขึ้นจึงมีโอกาสเข้ามาบวช ในร่มเงาบวรพระพุทธศาสนา ได้มีโอกาสมาศึกษาคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มาเป็นพุทธบุตรได้มาเป็นต้นบุญต้นแบบการสร้างความดี

 รับชมวิดีโอ
 

รับชมคลิปวิดีโอการบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 2
ชมวิดีโอการบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 2   Download ธรรมะการบวชในพระพุทธศาสนา ตอนที่ 2
 
การบวชพระคืออะไรและอานิสงส์ที่ผู้บวชจะได้จากการบวชพระนี้ มีดังบทความต่อไปนี้




Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินันโท)พระเทพสุวรรณโมลี (สอิ้ง สิรินันโท)

พระราชภัทรธาดา (ประเทือง กิตฺติสทฺโท) เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรีพระราชภัทรธาดา (ประเทือง กิตฺติสทฺโท) เจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี

พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) รองสมเด็จพระราชาคณะพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) รองสมเด็จพระราชาคณะ



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

พระพุทธศาสนา