อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 3


[ 31 ม.ค. 2555 ] - [ 18290 ] LINE it!

ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2555
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 3
 
 


อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 3
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา 


 
ทำจีวรกุฏิ หรือปักกลดสำหรับพักอาศัยอยู่กลางแจ้ง 
 
การทำจีวรกุฏิ หรือปักกลดสำหรับพักอาศัยอยู่กลางแจ้ง
 
      10. อัพโภกาสิกังคะ  คือ ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตรหมายถึงการพักอาศัยอยู่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์  จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ภายใต้เงาของต้นไม้, ภูเขา หรือกุฏิไม่ได้เป็นอันขาด คือจะต้องเท่านั้น

    ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลางสามารถที่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้, ภูเขา หรือกุฏิได้ แต่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้หรือข้างในกุฏิไม่ได้

    สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบาสามารถที่จะพักอาศัยอยู่ใต้เงื้อมเขา ที่ไม่ได้มีหลังคามุงบังเสริมเพิ่มเติมได้

กำจัดความห่วงกังวลในเรื่องอาวาส หรือเรื่องที่พักอาศัย
 
กำจัดความห่วงกังวลในเรื่องอาวาส หรือเรื่องที่พักอาศัย


สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้น ก็เป็นไปเพื่อ

1. กำจัดความห่วงกังวลในเรื่องอาวาส หรือเรื่องที่พักอาศัย ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบายโดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ประดุจดั่งฝูงเนื้อที่ไม่ติดในที่อยู่อาศัยของตัวเองฉะนั้น

2. เพื่อขจัดความง่วงเหงาหาวนอนที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติธรรม

3. ฝึกให้เราเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ และมีความมักน้อย  เป็นต้น  
 
การพักอาศัยอยู่แต่ในป่าช้า  
 
การพักอาศัยอยู่แต่ในป่าช้า

11. โสสานิกังคะ คือ ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร หมายถึง เท่านั้น  โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์จะอยู่ในป่าช้าที่ประกอบพร้อมด้วยลักษณะ 3 อย่าง ดังต่อไปนี้คือ
 
      1. มีการเผาศพอยู่เป็นประจำ 
      2. มีซากศพนอนทอดร่างอยู่เป็นปกติ  
      3. มีเสียงร้องไห้คร่ำครวญถึงบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วอยู่เนืองนิตย์
 
      สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลางสามารถจะอยู่ในป่าช้าที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งจากลักษณะทั้ง 3 อย่างดังกล่าวได้

      ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบาสามารถจะอยู่ในป่าช้าร้างซึ่งไม่ได้มีการเผาศพ,  ฝังศพ  หรือเอาศพมาทิ้งนานแล้วได้

จะได้เจริญมรณานุสสติหรือระลึกนึกถึงความตายอยู่เนืองนิตย์ 
 
พระธุดงค์จะได้เจริญมรณานุสสติหรือระลึกนึกถึงความตายอยู่เนืองนิตย์
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้นก็เป็นไปเพื่อ

    1. จะได้เจริญมรณานุสสติหรือระลึกนึกถึงความตายอยู่เนืองนิตย์ ซึ่งก็จะทำให้เราคลายจากความยึดมั่นถือมั่นและดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท  พร้อมทั้งตั้งใจสั่งสมบุญสร้างบารมีให้เต็มที่เต็มกำลังยิ่งๆ ขึ้นไป

    2.  เพื่อขจัดกามราคะ หรือความกำหนัดยินดีในกาม

    3. ฝึกให้เราเป็นผู้มีใจมั่นคง ไม่หวั่นหวั่น และปราศจากความสะดุ้งกลัว

    4. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย  เป็นต้น 

การพักอาศัยอยู่ในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดให้โดยไม่เลือกว่าจะสะดวกสบาย 
 
การพักอาศัยอยู่ในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดให้โดยไม่เลือกว่าจะสะดวกสบาย

 
12. ยถาสันถะติกังคะ คือถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตรหมายถึง การพักอาศัยอยู่ในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดให้โดยไม่เลือกว่าจะสะดวกสบาย หรือถูกใจตัวเองหรือไม่

    ซึ่งพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ จะไม่สอบถามถึงรายละเอียดของเสนาสนะ ที่เจ้าหน้าที่จัดให้ว่าเป็นอย่างไร เช่นอยู่ไกลหรือใกล้,  ร้อนหรือหนาว  หรือมีสัตว์อะไรมารบกวนหรือเปล่า เป็นต้น

    ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง  สามารถที่จะสอบถามถึงรายละเอียดของเสนาสนะ ที่เจ้าหน้าที่จัดให้ได้   แต่จะไม่เดินไปตรวจดูเสนาสนะนั้นก่อนที่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่เป็นอันขาด

    สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดและเดินไปตรวจดูเสนาสนะที่เจ้าหน้าที่จัดให้ก่อนที่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ได้   และถ้าหากพบว่าเสนาสนะนั้นไม่เหมาะกับสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บที่ตัวเองเป็นอยู่   ก็สามารถที่จะขอเปลี่ยนเสนาสนะใหม่ได้
 
ฝึกให้เราเป็นผู้มีความสันโดษไม่ยึดติดในเสนาสนะมีความมักน้อย 
 
ฝึกให้เราเป็นผู้มีความสันโดษไม่ยึดติดในเสนาสนะและมีความมักน้อย

สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้นก็เป็นไปเพื่อ

    1. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความสันโดษ หรือมีความยินดีในเสนาสนะตามแต่ที่เจ้าหน้าที่จัดให้
    2. ฝึกให้เราไม่ยึดติดในเสนาสนะ
    3. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย  เป็นต้น 

เนสัชชิกังคะ คือ ถือการนั่งเป็นวัตรได้แก่ ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น 
 
เนสัชชิกังคะ คือ ถือการนั่งเป็นวัตรได้แก่ ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น
 
และข้อสุดท้าย 13. เนสัชชิกังคะ คือ ถือการนั่งเป็นวัตรหมายถึง การอยู่แต่ในอิริยาบถ 3 อย่าง ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น แต่จะไม่เอนตัวลงนอนเป็นอันขาด โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ จะไม่ใช้พนักพิง,  ผ้ารัดเข่า และผ้ารัดตัวมาช่วยในการพยุงกายในยามที่ร่างกายต้องการจะพักผ่อนเป็นอันขาด
    
      ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลางสามารถที่จะใช้ของอย่างใดอย่างหนึ่งในของทั้ง 3 อย่างดังกล่าวมาช่วยในการพยุงกายในยามที่ร่างกายต้องการจะพักผ่อนได้

    สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา   สามารถที่จะใช้ของทั้ง 3 อย่างดังกล่าวได้   อีกทั้งยังสามารถที่จะใช้หมอนและเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังมาช่วยในการพยุงกายในยามที่ร่างกายต้องการจะพักผ่อนได้อีกด้วย

 

ขจัดความเพลิดเพลินในการหลับนอนทำให้เราสามารถเจริญสมาธิภาวนาได้อย่างเต็มที่
 

สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้นก็เป็นไปเพื่อ

    1.
ขจัดความเพลิดเพลินในการหลับนอน
    2. ทำให้เราสามารถเจริญสมาธิภาวนาได้อย่างเต็มที่
    3. ฝึกให้เราได้ปรารภความเพียรอย่างกลั่นกล้า
    4. เพิ่มพูนนิสัยที่ดีงามที่มีอยู่ในตัวเราให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปเป็นต้น
    
พระภิกษุสามารถสมาทานธุดงค์ได้อย่างเต็มที่เท่าที่ตัวเองปรารถนา
 
พระภิกษุสามารถสมาทานธุดงค์ได้อย่างเต็มที่เท่าที่ตัวเองปรารถนา

       สำหรับการสมาทานและถือธุดงควัตรของพระภิกษุทั้ง 13 ข้อนี้ จะไม่จำกัดด้วยระยะเวลา  คือสามารถที่จะสมาทานและถือธุดงค์กี่วันก็ได้ ดังนั้น พระภิกษุจึงสามารถสมาทานธุดงค์ได้อย่างเต็มที่เท่าที่ตัวเองปรารถนา ซึ่งก็มีพระภิกษุบางรูปที่ตั้งใจสมาทานและถือธุดงควัตรตลอดชีวิต ซึ่งการถือธุดงควัตรนี้พระภิกษุในสมัยพุทธกาลจะนิยมถือปฏิบัติกันเป็นจำนวนมาก  อีกทั้ง พระภิกษุแต่ละรูปก็ล้วนถือปฏิบัติธุดงค์กันได้อย่างดีเยี่ยม ยกตัวอย่างเช่น พระจักขุบาลเถระผู้ถือธุดงค์ทางด้านเนสัชชิกังคะคืออยู่แต่ในอิริยาบถ 3 อย่างเท่านั้น ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง และจะไม่นอนนั่นเอง หรือพระมหากัสสปเถระผู้เป็นเลิศทางด้านการถือธุดงควัตรเป็นต้น

       ส่วนว่า เรื่องราวของพระมหากัสสปเถระผู้เป็นเลิศทางด้านการถือธุดงควัตรจะมีรายละเอียดเป็นเช่นไรนั้นเราก็คงจะต้องมาติดตามกันต่อในตอนต่อไป 
 
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 4, ตอนที่ 5, ตอนที่ 6, ตอนที่ 7, ตอนที่ 8, ตอนที่ 9, ตอนที่ 10, ตอนที่ 11, ตอนที่ 12, ตอนที่ 13


Desktop Version Desktop Version    



บทความที่เกี่ยวข้อง
DMC ที่โซโลมอนDMC ที่โซโลมอน

Solomon Islands หมู่เกาะมนุษย์กินคนSolomon Islands หมู่เกาะมนุษย์กินคน

เกาะที่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุด ที่มนุษย์อยู่ได้เกาะที่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุด ที่มนุษย์อยู่ได้



Home

อ่านธรรมะ

ธรรมะมาแรง

ช่วงเด่นฝันในฝัน